ไข้หวัดใหญ่ รู้ก่อน...ป้องกันได้ ก่อนการระบาดในหน้าฝน
บทความสุขภาพ
07 พ.ค. 2568
ครั้ง
ไข้หวัดใหญ่ รู้ก่อน...ป้องกันได้ ก่อนการระบาดในหน้าฝน
เดือนพฤษภาคมคือช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน ซึ่งมาพร้อมกับโรคยอดฮิตที่ไม่ควรมองข้ามอย่างไข้หวัดใหญ่ โดยเป็นโรคที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในประเทศไทย พบได้ตลอดปี เกิดการระบาดมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ผู้ป่วยที่เคยป่วยไข้หวัดใหญ่แล้วยังสามารถป่วยซ้ำได้อีก และยังพบในทุกช่วงวัยซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรง และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป
อาการ ของโรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ระยะฟักตัว 1 - 4 วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน
- ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะปวดตามแขน ขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ปวดเมื่อยตามตัว
- ไข้สูง 39-40 องศา
- เจ็บคอ และคอแดง มีน้ำมูกใสๆ ไหล
- ไอแห้งๆ ตามตัวจะร้อนแดง ตาแดง
- อาเจียน หรือท้องเดิน เป็นไข้ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและแสบคอยังคงอยู่ โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์

การติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป คือ ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม และการสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ โทรศัพท์ ของเล่น รีโมตโทรทัศน์ เมื่อใช้มือมาขยี้ตา แคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยง่าย

การรักษา โรคไข้หวัดใหญ่
การพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อร้ายแรง อาจต้องให้ยาต้านไวรัสการใช้ยาต้านไวรัสอาจมีผลข้างเคียงให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน การรับประทานยาพร้อมอาหารสามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถลดความรุนแรงของอาการและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 มีความคล้ายคลึงกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดและป้องกันความสับสนระหว่างโรคทั้งสองนี้ การรับวัคซีนทั้ง COVID-19 และไข้หวัดใหญ่ในเวลาเดียวกันนั้นทำได้ สําหรับผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ขาวสามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |