"ภาวะตัวเย็น" อันตรายที่ต้องระวัง

บทความสุขภาพ

28 ธ.ค. 2566
ครั้ง

"ภาวะตัวเย็น" อันตรายที่ต้องระวัง

      ช่วงฤดูหนาว กับอุณหภูมิที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็น ทำให้อาจมีการเกิด #ภาวะตัวเย็น (Hypothermia) ซึ่งคือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36 °C และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และสามารถนำไปสู่อันตรายถึงกับชีวิตได้ ภาวะตัวเย็นเกินไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างเห็นได้ชัด โดยอาจจะส่งผลถึงการไม่สามารถขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้ วันนี้เรามีอาการ “ภาวะตัวเย็น” ที่ให้ทุกคนได้ระวัง

อาการ “ภาวะตัวเย็น” 
  • หนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • หายใจถี่
  • คลื่นไส้
  • มีอาการมึนงง พูดไม่ชัด
  • มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

สาเหตุ ของภาวะตัวเย็นเกิน

      เกิดจากร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอ ทำให้อุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ ลดลงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย โดยร่างกายของคนเราสูญเสียความร้อนได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การสวมใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องป้องกันความหนาวเย็นอื่น ๆ ที่ไม่หนาพอ 
  • การสัมผัสกับความเย็นโดยตรง เช่น การตกลงไปในน้ำที่เย็นจัด เป็นต้น
  • การสัมผัสกับลมที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อน เพราะลมจะพัดเอาอากาศอุ่น ๆ ที่ปกคลุมบนผิวหนังออกไป

การรักษา ภาวะตัวเย็นเกิน

      การรักษาผู้ป่วยภาวะ Hypothermia ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่นขึ้น เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นดีที่สุด เพื่อป้องกันผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น หากพบว่ามีอาการเข้าข่าย ผู้ใกล้ชิดควรขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที

ภาวะแทรกซ้อน ของภาวะตัวเย็นเกิน

      นอกจากภาวะ Hypothermia ที่เกิดขึ้นได้แล้ว การอยู่ในสภาพอากาศเย็นหรือแช่ในน้ำที่เย็นมากเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บอื่น ๆ ได้ เช่น เนื้อเยื่อเสียหายรุนแรงจากความเย็น และภาวะเนื้อตายเนื่องจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะทิ้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยง เช่น ติดสุรา มีปัญหาทางจิต หรือเป็นผู้สูงอายุ หากอยู่ในสภาวะหนาวเย็นเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะ Hypothermia เพิ่มสูงขึ้นถึง 40 เปอร์เซ็นต์

      วิธีป้องกัน “ภาวะตัวเย็น” ที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง สิ่งสำคัญคือต้องจดจำสัญญาณ และอาการของภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ เช่น ตัวสั่น สับสน และผิวหนังเย็นและซีด และควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณสงสัยว่ามีคนกำลังเผชิญกับภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ

ภาวะตัวเย็นอันตรายที่ต้องระวัง.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png